News Clipping

สอศ.จับมือ IRCT group ร่วมปั้นนักศึกษาทวิภาคี

กดอ่านต่อ > http://www.vec.go.th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/tabid/103/ArticleId/9844/-IRCT-group.aspx

วันที่: 01/03/2017 สร้างโดย: pradmin

       สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับกลุ่มบริษัท IRCT  จัดงาน “IRCT group : Step to Thailand 4.0 with DVE”และพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประจำปี 2559 ณ บริษัท อีโนเวรับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (วังน้อย) โดยมีดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา และนางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล ประธานกรรมการบริษัท ฯ ร่วมเป็นเกียรติในงาน

ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สื่บเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูงสุด โดยเฉพาะนักศึกษาอาชีวะที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ให้มีสมรรถนะ ทักษะวิชาชีพ ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ ผ่านการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งกลุ่มบริษัท IRCT ได้ร่วมกับ สอศ. สานรับนโยบายดังกล่าว โดยในปี 2559 บริษัทได้จัดทำโครงการความร่วมมือกับสอศ. ในการรับนักศึกษาระบบทวิภาคีเป็นปีแรก ประกอบกับบริษัท ฯ มีนโยบายในการพัฒนาโรงงานให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Factory โดยพัฒนาเครื่องจักรและกระบวนการการผลิตให้เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด ซึ่งโครงการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีนี้ เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทได้มากที่สุด การพัฒนาคนเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะช่วยพัฒนาองค์กรและประเทศ ไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืนและเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 นี้ บริษัทจึงร่วมกับคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา หรือ อ.กรอ.อศ. ในกลุ่มอาชีพยานยนต์และชิ้นส่วนร่วมกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ อีก 35 กลุ่ม ดำเนินการจัดทำรูปแบบพัฒนาโรงงานให้เป็นโรงเรียน เพื่อเติมเต็มทักษะฝีมือและทักษะการทำงานให้กับนักศึกษาอาชีวะได้เต็มที่เพื่อก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0

ซึ่งในปี 2559 ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัท IRCT เปิดโอกาสให้นักศึกษาระบบทวิภาคีจำนวน 26 คน จาก 3 สถานศึกษา เข้าฝึกอบรมประสบการณ์วิชาชีพกับบริษัท ฯ ได้แก่ สาขาช่างไฟฟ้า 9 คน จากวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ สาขาเทคนิคการผลิต จำนวน 4 คน จากวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี และสาขาแมคคาทรอนิกส์ จำนวน 13 คน จากวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซีเมนต์ไทยอนุสรณ์ ซึ่งหลังจากฝึกแล้วนักศึกษา ได้นำเสนอผลงานโดยแบ่งเป็น 13 กลุ่ม และมี 4 กลุ่มที่มีผลงานโดดเด่น ได้แก่  เช่น การประดิษฐ์ม้วนยางอัตโนมัติแทนการใช้แรงงานคน จากวิทยาลัยเทคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ เครื่องคัดแยกขนาดเม็ดยางสีสังเคราะห์ จากวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี การประดิษฐ์ไฟฉาย LED จากวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ และการประดิษฐ์เสื้อเตือนภัยสำหรับตรวจจับกระแสไฟฟ้า จากวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ โดยได้มีการจัดสรรนักศึกษาจากสาขาต่างๆ เข้าร่วมฝึกปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาได้รับประโยชน์จากการฝึกอย่างสูงสุด สามาถนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ในอาชีพหรือการศึกษาต่อไปในอนาคต

กลุ่มประชาสัมพันธ์ 28 กุมภาพันธ์ 2560